เราใช้ตามองเท่านั้นหรือ

บางคนบอกว่า ของบางอย่าง อย่ามองด้วยตา มันต้องใช้ใจ ผมว่า มันก็ค่อนข้างปัจเจกไป ปกติคนเรามักตัดสินใจจากการที่ได้มองเห็นก่อน เพราะมันรวดเร็ว และง่าย และในเสี้ยววินาทีก็ใช้ประสพการณ์รอบตัวมาตัดสิน เช่นเห็นขอทาน ต้องเป็นคนสกปรก ที่มาขอเงินอยู่ตามทางเท้า จึงเกิดความน่าสงสาร เช่นคิดว่าคนขายของตามสี่แยก แต่งตัวปอนๆ นอกจากอันตรายแล้ว ยังคิดว่าน่าจะจน ก็อาจจะใช่และก็ไม่ใช่ แต่เดี๋ยวนี้ผมว่ามันจะไม่ใช่เป็นส่วนใหญ่ เพราะการตัดสินด้วยสายตานั้นมันหยาบเกินไป เราไม่ได้นั่งคิดวิเคราะห์อย่างละเอียด เอาแต่ความรู้สึกเข้าว่าเป็นหลัก แล้วก็ตัดสินคนนั้นไป เป็นจำพวก...

คุยกับคนพาล ก็เหมือนไม่ได้คุย

การที่เราทำดี ต้องเข้าใจก่อนว่า ทำดีแล้วได้ดี อาจจะไม่ใช่ดีอย่างที่เราอยากได้ หรือได้ในเวลาที่เราต้องการ การทำดีกับใครคนหนึ่ง เราก็ต้องมองด้วยว่าเขาเปิดรับ และต้องการเราไหม เมื่อเราเห็นคนมีปัญหา เราก็มีใจอยากช่วยเหลือนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ก่อนที่จะช่วยก็ควรคิดให้ถี่ถ้วนก่อน เมื่อเราเจอคนพาล เราจะอธิบายเหตุผลอย่างไร เขาก็ไม่สน เพราะเมื่ออารมณ์เกิดขึ้น มันเป็นมิจฉาทิฐิ บังตาอยู่แล้ว ดีแค่ไหนก็ไม่เห็น กว่าจะเห็นอารมณ์วู่วามต้องผ่านไปก่อน สิ่งที่เจอเป็นเรื่องชั่ววูบนั้น เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้แบบไม่ได้ตั้งใจเตรียมตัวเตรียมใจไว้ จะทำดี ผิดคนผิดเวลา เดี๋ยวดีๆจะกลายเป็นร้าย พูดให้คนที่ไม่พร้อมฟัง...

มีของดี ก็ต้องเลือกกลุ่มเป้าหมาย อย่าเหมา

ได้ออกไปนั่งคุยกับคนบ้าง ถึงยังหาไอเดียของเราไม่ได้ แต่เราก็ฟังไอเดียเขา และก็ได้แนวความคิดของคนอื่น บางอย่างมันก็เจ๋งนะ แต่ดูดี ที่ขาดๆเกินๆ บางที ที่เราเห็นขัดแย้ง ก็คงเพราะ ประสพการณ์ที่ผ่านมาของเรา มันทำให้เราเห็นมุมมองอีกแบบหนึ่ง แต่คนอื่นก็จะมีมุมมอง และความเชื่อที่แปลกแตกต่างกันไป บางอย่างเราก็เอามาคิดต่อทำนายในใจ ว่าต่อไปจะเป็นอย่างไร แต่ไอเดียย่อมเป็นไอเดีย ถ้าจะทำให้เป็นจริง มันต้องทำ ความเป็นไปได้ของไอเดีย มันจะยุ่งยากหน่อย แต่มันก็ให้รายละเอียดได้ดี มันจะทำให้เรารู้หรือขาดอะไร มันจะทำให้รู้ว่าตรงไหนเราไม่อยากแตะ เพราะเราไม่เชี่ยวชาญนั้นเป็นสิ่งที่เราขาดและต้องหาอะไรมาอุดรอยรั่ว...

ต่อให้เศรษฐกิจแย่ แต่ถ้าโดน ยังไงก็ซื้อ

เวลาเรามองภาพรวมๆ กว้างๆนั้น มันจะได้ภาพสะท้อนว่า เศรษฐกิจมันแย่ ทำอะไรก็ไม่ดี แต่มันไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะไม่ดี เศรษฐกิจไม่ดี ไม่ใช่แปลว่าทุกคนไม่มีเงิน หรือไม่มีอำนาจการใช้เงิน เพราะ บางเรื่องเป็นเรื่องเล็กๆน้อยๆ สามารถใช้โดยไม่คิดอะไร หรือถ้าอะไรใหญ่ๆ แต่ถ้ามันทำให้เรา หรือคนซื้อรู้สึกถูกโดยสามัญสำนึกเมื่อไร คนซื้อก็จะซื้อเลยโดยไม่คิด หรือคิดไม่ทัน และตอนที่คิดได้ก็..อ้าว ทำอะไรไปแล้วเหรอ สินค้าพวกนี้ ต้องเป็นสินค้าที่แต่ก่อน มีมาตราฐานราคาสูงมาก่อน แล้ววันดีคืนดี ลดราคาลงมาถล่มทลาย ไม่เกี่ยวว่ามันถูกหรือแพง...

ใช้เทคโนโลยีมันไม่ผิด มันผิดที่ใช้มากไป

อะไรมากไปมันก็ไม่ดี จะดีมากไป สบายมากไปมันไม่ดี มันไม่ดีที่ไปติดมัน เสพติดมัน เสพติดความสบาย พอเราติดอะไรสักอย่าง เราจะแสดงว่ามันสำคัญแม้ว่าจะคิดว่าไม่มีมันก็ได้ เช่น มือถือ ในปัจุบัน มีความสำคัญ เราใช้มันติดต่อเพื่อนฝูง ครอบครัว และเรื่องงาน พอพูดเช่นนี้มันก็มีความสำคัญอย่างมากมาย ประโยชน์มหาศาล มันทำให้คนหลายคนร่ำรวย เป็นเศรษฐี กับมันก็ได้ แต่ที่แน่ๆ มันไม่ทำให้ทุกๆคนร่ำรวยเช่นนั้น เพราะเราทำอะไรมากเกินไป ติดมันมากเกินไป ใช้เลยจุดที่เป็นประโยชน์...

you will not get it because you want it

ผมเห็นเด็กๆที่เอาแต่ใจ คงไม่ใช่แค่เด็กๆที่เอาแต่ใจ มันคงเป็นสภาพแวดล้อมที่หล่อหลอมที่ทำให้เด็กพวกนี้เป็นแบบนี้ คงเป็นผู้ปกครองที่ จะทำทุกอย่างให้เด็กรู้สึกว่า จะได้เพียงเพราะเค้าร้องขอ คงเป็นผู้ปกครองไม่อยากเห็นความลำบากในตัวลูกๆเขา เหมือนตอนที่เขาลำบาก แต่พ่อแม่ไม่ได้หยิบยื่นโอกาสเพียงอย่างเดียว แต่ยังเสนอหนทางที่โลกแห่งความจริงให้ไม่ได้ เด็กๆ เราร้องไห้ แล้วบอกพ่อแม่ว่าอยากได้ พ่อแม่ก็จะหามาให้ แต่ถ้าเราโตแล้ว ทำงานแล้ว เราร้องไห้ในห้องประชุม คนคงคิดว่าเราเป็นบ้า การปรับตัวว่าให้เรารู้ว่า โลกนี้ไม่ได้อยู่ง่ายๆ เหมือนที่พ่อแม่ปฏิบัติให้เรา วันนึงเราจะรู้ ว่าเวลา อยากได้เงิน ไม่ใช่แค่เดินไปบอกพ่อแม่แล้วแบมือ...

เราควรเรียนรู้สิ่งที่ไม่รู้ ไม่ใช่รู้แล้วก็รู้เหมือนเดิม

มีสิ่งที่เรียนรู้มากมาย แต่เราต้องเรียนรู้สิ่งที่เราไม่รู้ อะไรที่รู้แล้ว เพราะเราไม่รู้มาก่อนแล้วเรียนรู้มัน จะเรียนรู้แบบไหนก็ได้ เรียนแล้วให้รู้ ถ้ายังไม่รู้ก็เรียนใหม่ หรือหาวิธีต่อไปให้รู้ แต่ถ้ารู้แล้วก็เรียนรู้เรื่องเดิม มันก็ได้ไม่มากกว่าเดิม มันเสียเวลา เราไม่แตกฉานเพราะเรียนเหมือนเดิม ต่อให้เรียน ป.1 10รอบ ก็ไม่เก่งกว่าคนที่เรียน ม.1 แต่เราควรจะรู้ว่าเราขาดอะไร เช่นเด็กสมัยนี้ควรเรียนรู้เรื่องความอดทน เพราะเรื่องเทคโนเนี่ยเก่งอยู่แล้ว ผู้ใหญ่ ผู้ซึ่งมีความอดทนอยู่แล้ว ควรเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยี ผู้หญิงควรเรียนรู้ผู้ชาย ผู้ชายก็เรียนรู้ผู้หญิง...

enjoy little thing

นั่งอ่านงานวิจัยตลาดจากที่ต่างๆ ไม่ค่อยเจอเรื่องดีสักเท่าไร และที่น่าสนใจ คือ คนเป็นหนี้มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะหนี้ที่ไม่ได้ก่อเกิดรายได้ หรือหนี้ของการฟุ้งเฟ้อ แม้ว่ารายจ่ายบางอย่างก็มีความจำเป็นของการเข้าสังคม แต่เมื่อความพร้อมของตัวเองไม่มี และเรียกการก่อหนี้นั้นว่าโอกาส บางครั้งถูกบางครั้งผิด แต่บ่อยครั้งได้ไม่คุ้มเสีย ค่านิยมผิดๆ และความคิดว่าคุ้มค่าแลกมาด้วยการจ่ายที่เพิ่มขึ้น อายุยืนแต่ ด้วยความสามารถหรือเป็นภาระให้กับครอบครัวและสังคม จบมหาวิทยาลัย และตกงาน อันเนื่องมาจาก เศรษฐกิจที่ตกต่ำลง และองค์กรที่อยู่รอด ก็ต้องการคนที่มีความสามารถมากขึ้น หากมีความรู้แค่พื้นๆ ก็คงยากที่จะหา และความอดทนต่อสิ่งแวดแล้วก็เป็นสิ่งที่จำเป็นเช่นกัน...

ที่เราเลือก เพราะเราไม่ชอบทำอีกอย่าง…

ผมเคยสัมภาษณ์คนรับสมัครงานมาก็พอสมควร บางทีผมก็เจอทัศนคติแปลกๆ แม้แต่ตัวผมเองในบางครั้ง (แต่ก่อนไม่ได้คิด โตมาถึงคิดได้) ย้อนกลับไปช่วงยอดฮิตของคนเรียนไม่เก่ง สมัยมหาวิทยาลัย บางคนไม่ชอบเรียนเลข เลยมาเรียนเรื่องภาษา บางคนไม่ชอบเรียนเรื่องภาษาเลยหนีไปเรียนคำนวน บางคนไม่ชอบทั้งเลขและภาษาเลยหนีไปเรียนศิลป์ มันก็มีส่วนถูกอยู่ ไม่เลือกในสิ่งที่ตัวเองทำไม่ได้ แต่มันก็เหมือนตัดช๊อยส์ ให้เหลืออันที่ทำได้ อันนี้ มันก็มาทาง เลือกให้อยู่รอด แต่เมื่อเราก้าวมาทำอะไรสักอย่างแล้ว เราก็ต้องมีความรักในสิ่งที่ทำ ไม่ใช่แค่ทำในสิ่งที่ทำได้ และสิ่งที่ทำไม่ได้เราก็หนีมันไป บางคนกลัวฝังใจจนติดมาเป็นนิสัยถึงตอนทำงาน พอถ้าเจอแม้เพียงนิดหน่อย ก็ไม่เอาหรือหนีมัน...

ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับความสะดวกมากขึ้นเรื่อย ๆ2

นักการตลาด ย่อมเข้าใจคน ที่ไม่อยากลำบาก เพราะต้องการความสบาย เลยออกผลิตภัณท์ หรือ การบริการที่ช่วยให้เขาเหล่านั้น สดวกสบายยิ่งขึ้น จนกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ที่เราใช้จนไม่รู้ตัว และเราก็จ่ายโดยไม่รุ้ตัว เพราะบางอย่าง เราไม่ได้คิด แนะนี่คือช่องว่างที่ นักการตลาดต้องมา แต่ก่อน หากซื้อของเราต้องไปสถานที่ขาย แต่เพราะมันกระจาย ไม่สามารถซื้อในที่เดียวกันได้ ห้างสรรพสินค้าก็เกิดขึ้น โดยรวบรวมสิ่งต่างๆ แทนที่เราจะไปหลายๆที่ มาไว้ที่เดียว พอรถมันติด การตลาดออนไลน์ก็เข้ามา...