เราต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต

ตอนผมเรียนจบปริญญา ผมรู้สึกว่าผมเก่ง แต่พอทำงานผมรู้สึกว่าผมยังมีเรื่องไม่รู้อะไรอีกเยอะแยะ สรุปที่ผมเรียนมา มันเอามาทำอะไรได้บ้างเนี่ย ผมก็ต้องเรียนรู้งาน เหมือนเรียนใหม่ทั้งหมด ที่ผมเรียนผ่านมาได้วุฒิ ได้ปริญญานั้น เหมือนเอาใบมาเพื่อมีสิทธิจะได้เข้าอยู่ในโลกใหม่เท่านั้นเอง และเมื่อถึงจุดนึงที่ผมรู้ในสิ่งที่ผมต้องรู้ กับสิ่งที่ทำ หากถ้าผมต้องเดินทางต่อ ผมก็ต้องเรียนรู้ใหม่อีก และมันต้องเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ และถ้าผมหยุด สิ่งที่ผมรู้ มันก็จะตามไม่ทันสมัย ไม่ทันโลก สิ่งที่ผมรู้มันจะไม่ได้กลายเป็นสิ่งที่ คนต้องการหรือต้องใช้ต่อไป การเรียน ไม่มีวันจบ เราต้องเรียนตลอดชีวิต แต่การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องไปสถานศึกษาเท่านั้น...

ผิดแล้วก็ถูกได้ อย่าถอดใจ

หากถ้าเราทำอะไรผิดพลาดไป ขอให้รู้ว่าต้องรับผลของการกระทำนั้น เราก็ยังมีโอกาสทำในสิ่งที่ถูกต้องได้ ถึงจะเรื่องใหญ่ แต่มันก็ไม่ใช่เรื่องโลกแตก แต่มันมีวิถีของมัน คือผิดแล้วก็แก้ แก้แล้วมันก็จะถูกต้อง ชีวิตถ้าไม่ตาย ก็ยังเดินต่อไปได้เสมอ แต่ถ้าผิดแล้วคิดว่าหมดแล้วไปตาย อันนั้นจบเลย เสียดาย เราต้องหาโอกาสใหม่ให้กับตัวเอง เปิดตัวเองจากเรื่องผิด ถึงครั้งหน้าอาจจะมีโอกาสผิด แต่มันมีโอกาสถูกด้วยเหมือนกัน สู้ครับ ผิดได้ไม่ตลอดไปหรอกครับ มันก็ต้องมีถูกกันบ้างแหละ ขอให้สู้ต่อ โอกาสมีแน่ๆ RIZwrongtobe

เราจะมีที่ยืนในอนาคตหรือเปล่า

วันนี้เราเก่ง พรุ่งนี้เรายังจะเก่งอยู่ไหม จะมีใคร หรืออะไรที่ทำได้ดีกว่าเรา ถูกกว่าเราหรือเปล่า หากเป็นเช่นนั้นจริงๆ แล้วเราจะต้องไปยืนอยู่ที่ไหน เมื่อเราทำอะไรซ้ำๆ จนเกิดความชำนาญ แต่ถ้าโลกมันเปลี่ยน แล้วเราต้องโดนการเปลี่ยนแปลง เราจะเหลืออะไร มีอะไรบ้างที่เราเตรียมไว้ได้ บางเรื่องอาจเป็นเรื่องง่ายๆ เพียงแต่เราก้าวมาสักก้าว เราก็นำหน้าคนพวกนั้นแล้ว ความสามารถเฉพาะทางเป็นสิ่งที่ดี แต่การเรียนรู้ และการปรับตัว ให้เข้ากับโลกปัจุบัน การรู้จักคนที่หลากหลาย ต่างสัมมาอาชีพ และวัย ทำให้เรามีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น มองได้หลากหลายมากขึ้น...

อยู่กับคนเก่ง

เราอยากเก่ง มันก็ยากที่จะฝึกวิชาอยู่คนเดียว อย่างน้อยเราต้องรู้ระดับที่เปรียบเทียบจากสังคม คือ ถ้าเราเทียบกับคนอื่น เราถึงรู้ว่าเก่งหรือไม่เก่ง เว้นแต่ เปรียบแล้ว เราดีกว่ามาก อันนั้น ก็ค่อยไปฝึกวิชาอยู่คนเดียว แต่ถ้ายังไม่ใช่ และยังไม่เก่ง การฝึกวิชาคนเดียวมันก็ทำได้ แต่มันดีไม่พอ และเร็วไม่พอ เราต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมของคนเก่ง พูดคุยกับคนเก่ง หรือทำกิจกรรมร่วมกับคนเก่ง ไม่นาน เราจะซึมซับเข้ามาเอง ไม่นานที่เราออกไปเปรียบกับสังคม เราจะรู้ได้ถึงพัฒนาการของตัวเองได้ ถ้าไม่ถอดใจ ไม่ไหวไปเสียก่อน...

มืออาชีพมันทำได้ทุกสถานการณ์

เวลา บอกว่าใครเป็นมืออาชีพ เรามักมองว่าเขาทำได้ตามที่เราคาดหวัง มันก็ใช่และไม่ใช่ นั่งคุยเรื่องการลงทุน ถ้าเราเป็นมือสมัครเล่นเวลาไม่ดี เราก็ไม่ลงทุน แต่ถ้าคุณเป็นมืออาชีพ ยังไงคุณก็ต้องลงทุน จะแย่แค่ไหน เพราะอาชีพของคุณคือการลงทุน ยังไงก็ต้องทำ และถ้าหากคุณเป็นผู้รับจ้างการลงทุนแล้ว คุณก็ต้องทำ แม้จะมีผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน มากบ้างน้อยบ้าง ผิดพลาดบ้าง ก็ต้องยอมรับและแก้ปัญหาไป แต่เมื่อเป็นงานคุณต้องทำ ไม่ทำไม่ได้ บอกว่าไม่ดีแล้วไม่ทำไม่ได้ แล้วจะรอดีๆค่อยทำ มันไม่ได้ ต้องทำครับ ต้องทำ...

อย่าลดคุณภาพ

ผมเห็นร้านดีๆ ต้องปิดตัวไปเพราะคนไม่เข้าเหมือนเดิม ไม่เหมือนช่วงแรกๆ ที่คนแน่นขนัด เพราะเขามั่นใจในคุณภาพของเรา เราต้องแยกกลุ่มลูกค้า ลูกค้าที่จะไปหาของถูก ที่ไหนที่ถูกกว่า เขาจะไป แต่ลูกค้าที่ซื้อด้วยการบริการ และคุณภาพ และความสมเหตุผลแล้วนั้น เขาจะอยู่ แม้ในช่วงเศรษฐกิจแย่ๆแบบนี้ ลูกค้าก็อยากจะจ่ายน้อยลง เราก็ต้องช่วยเขาครับ คือการช่วยตัวเอง หาลดต้นทุนการบริหารอะไรได้ก็ควรลด แต่เรื่องเดียวที่ห้ามลดคือ คุณภาพ ลูกค้าซื้อเราเพราะคุณภาพ หากเราลดคุณภาพแล้วนั้น มันก็หมดโอกาสของเรา เพราะเราจะไปแย่งลูกค้าจากพวกที่เน้นราคา หากได้เงินก็จริงอยู่...

ใช้ของดี ถ้ามือไม่ถึงมันก็ไม่ดี

หลังๆ มีโอกาสไปร้านอาหาร แต่ละร้าน ก็ชอบโปรโมทว่าเขาใช้วัตถุดิบที่ดี บางที่ ระดับพรีเมียม ซึ่งวัตถุดิบมันก็แพงขึ้นไปอีก เวลาจ่ายบิลทีซีดเลยทีเดียว แต่พอทานเสร็จก็ชอบมาคุยว่า อร่อยไหม บางทีก็โอเค บางทีก็ไม่ได้เรื่อง เราก็นั่งคิดว่า ขนาด วัตถุดิบดีขนาดนี้ ยังไม่อร่อยเลย ปัญหามันไม่น่าจะเกิดจากวัตถุดิบ ถ้ามันมีคุณภาพระดับพรีเมียมอยู่แล้ว มันคงอยู่ที่คนปรุงแน่เลย ไม่รู้มีประสพการณ์หรือรสนิยมแบบไหน ที่ทำให้คนส่วนใหญ่ทานไม่อร่อย ขนาดของดีนะครับเนี่ย พอสรุปที่ว่าของดีต้องให้คนมีฝีมือทำได้ มันจะได้เข้าใจ มองวัตถุดิบแล้วรู้ว่าต้องทำอะไรแบบไหน...

ต้องสำเร็จเท่านั้น ถึงจะเข้าใจในสิ่งที่เราทำ

สิ่งที่เราทำ อาจจะเป็นเรื่องที่คนอื่นมองไม่ถึง คนอื่นถึงสงสัย คิดไม่เหมือนกัน นั่นแหละครับเป็นเหตุขึ้นมา คนเราจะไม่ยอมรับในสิ่งที่แตกต่าง เพราะสิ่งที่จะทำให้เขาเข้าใจได้ เราต้องทำให้สำเร็จ ประสพความสำเร็จเท่านั้น ที่จะทำให้คนยอมรับ เปิดใจ เปลี่ยนใจได้ มุ่งมั่นครับ อดทนครับ ทำสิ่งที่เราคิดว่าใช่ แล้วพิสูจน์มัน RIZsuccessonly

สิ่งสังเกตถ้าเราทำอะไรใหม่ๆ

ถ้าเราจะทำ ที่ไม่เคยมีมาก่อน จะระดับชุมชน ระดับเมือง ระดับประเทศ หรือระดับสากล คนส่วนใหญ่ก็ย่อมไม่ยอมรับอยู่แล้ว เพราะเขาไม่รู้ เขารู้อดีต เขารู้ปัจุบัน แต่ไม่รู้ไม่เห็นอนาคต การที่คนเขาดูถูกเรา เป็นเพราะเขาเป็นห่วงและหวังดี ที่อยากให้เราได้ดี ในแบบที่เขารู้ เช่น อย่าไปทำเลย ไม่มีใครเขาทำหรอก มันลำบาก ไปรับราชการดีกว่า มันก็ไม่ผิดหรอกครับ แต่มันขัดแย้งกับความรู้สึกเราแน่ๆ เพราะสิ่งที่เราจะทำ ถ้ามีคนเข้าใจ และเห็นด้วย...

เวลาจะบอกเองว่าใช่หรือไม่

การทำธุรกิจ เราต้องมองไปถึงอนาคต เหมือนเราทายใจคนส่วนใหญ่ว่าจะเป็นแบบไหน เราจะได้ประมาณการณ์ได้ถูก ซึ่งตรงนี้แหละครับน่าสนใจ เพราะ บางอย่างเรารู้ เราก็ต้องเตรียมการไว้ก่อน แต่การเตรียมการมันต้องใช้เวลา แล้วเราก็ต้องกะให้มันตรงจังหวะนั้น ยากครับ ยากสุดๆ เพราะถ้ามาก่อน ที่เราลงทุนไป คนก็ยังไม่พร้อม ไม่ยอมรับ ทำไปก็เจ๊ง พอเลิกทำ จังหวะมา แล้วคนอื่นทำ มันก็ได้ก็ไม่ต้องแปลกใจ แล้วมาหลัง มันก็จะช้าไป จะบอกว่าเราคิดก่อนก็ไม่ได้ เพราะสังคมก็ไม่รับรู้ว่ามาก่อนมาหลัง...