จริงๆผมก็รู้จักคนมาก็มาก ยากดีมีจน ตั้งแต่ขับแท๊กซี่ถึงมหาเศรษฐีผมก็คุยหมด เพราะผมอยากรู้ว่าพวกเขาคิดอย่างไร มันจะทำให้ผมจินตนาการว่า เค้าใช้ชีวิตเป็นอยู่อย่างไร แล้วสิ่งไหนที่เอามาเป็นประโยชน์สำหรับผมได้บ้าง
ซึ่งแต่และกลุ่มและแต่ละคนก็มีข้อดีเสียและความน่าสนใจแตกต่างกันไป ซึ่งแม้บางคนก็ยังไม่รู้ตัวว่าเค้ามีความน่าสนใจอย่างไร และก็บางคนคิดว่าตัวเองน่าสนใจแต่จริงๆมันก็เป็นเรื่องไม่มีอะไรเอาเสียเลย
ซึ่งสิ่งที่ผมสังเกตและน่าสนใจเอามากๆคือ คนจนชอบกินใช้และอยู่อย่างคนรวย และคนรวยกินใช้ชอบอยู่อย่างคนจน
เพราะ
คนจนใช้ก่อนเก็บ และคนรวยเก็บก่อนใช้
ว่าด้วยนิสัยของคนที่ฝึกกันได้ คนที่มีแววจะรวย หรือคนรวย พอได้เงินก็มักจะเก็บก่อน เพราะเขากำลังสร้างความปลอดภัยให้แก่ตัวเขาเอง เมื่อความปลอดภัยถึงระดับนึงมันก็จะเป็นความมั่งคั่ง เขาสร้างวินัยให้กับตัวเอง ว่าได้มาเท่าไร ก็หักเก็บไว้ก่อน จะเก็บก่อนที่เอาไว้ใช้จ่ายอย่างอื่น ปกติแล้ว ตามตำราต่างๆ ก็บอกว่าควรเก็บ 10%ของเงินเดือน หรือรายได้ต่อเดือน แต่อันที่จริง ยิ่งเก็บมากเท่าไร ตามอัตราส่วนของเงินเดือนมันก็ย่อมเป็นการสร้างนิสัยและวินับที่ดี อย่าพึ่งไปอ้างพวกที่มีเงินเดือนสูงๆ ที่บอกว่าสามารถเก็บเงินได้เยอะกว่า แม้เพียงไม่กี่เปอรเซ็นของพวกเขาก็เท่ากับเงินเดือนกับคนหาเช้ากินค่ำแล้ว แต่สิ่งที่ผมพยายามจะบอกคือการสร้างวินัยในการออม ในการเก็บ ไม่ได้มุ่งบอกว่าใช้ยามความจำเป็น แต่เป็นการเก็บเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับชีวิตตัวเอง ซึ่งหากจำเป็นต้องใช้ ก็ต้องเป็นยามจำเป็นที่เป็นเหตุสำคัญต่อชีวิตเท่านั้น แต่คนที่มีแววจะจนมักได้เงินมาแล้วใช้โน่นใช้นี่เหลือแล้วถึงเก็บ ซึ่งมันก็ไม่เหลือสักที อาจจะเป็นหนี้จากเดือนก่อนๆทำให้เก็บไม่ได้ แต่ถ้าคิดว่า การเก็บเป็นค่าใช้จ่ายอย่างหนึ่งของการใช้ชีวิต มันอาจจะมองเป็นทัศนคิตที่ง่ายกว่า
คนรวยกระจายการออม ส่วนคนจนออมรวบ
เป็นที่น่าแปลกว่าการออมทีละเล็กละน้อยแต่มากที่ มันออมง่ายกว่า ออมเป็นก้อนใหญ่ๆก้อนเดียว การออมหลายๆเรื่องหลายๆบัญชี มันทำได้ง่าย เพราะ เรามองสิ่งเล็กๆน้อยๆนั้น ในความรู้สึกทางจิตวิทยา ย่อมไม่ใช่เป็นเรื่องใหญ่ คิดน้อย ทำง่าย จะออมในธนาคารออมทรัพย์ ฝากประจำ ออมในหุ้น ออมในประกัน ออมในสหกรณ์ หรือออมในแชร์ ทีละเล็กละน้อย แต่พอรวมๆกันมันก็มากเอง ซึ่งการออมนั้น ในเบื้องต้นย่อมเป็นเรื่องของการฝึกนิสัย ไม่ใช่ออมเพื่อหวังผลตอบแทนว่าจะได้ดอกเบี้ยเท่าไร หรือมูลค่าทบต้น แต่สำหรับคนที่มีนิสัยจะจนนั้นมักมีบัญชีเดียวซึ่งเป็นบัญชีเงินเดือนพร้อมทั้งผูกเอทีเอม ทุกอย่าง all in one ซึ่งปกติก็แยกกองเงินในบัญชียังยาก เราเลยไม่รู้ว่าเราออมให้ใช้จ่ายเท่าไรเป็นรูปธรรม สรุปใช้หมดติดลบเดือนชนเดือนเพราะ เราก็ใช้มันหมดบัญชี
คนรวยแยกกองเงินไว้ใช้ตามเรื่องเฉพาะ ส่วนคนจนรวมเรื่องใช้ในกองเดียว
เมื่อคนที่มีนิสัยรวยแยกกองที่จะออมแล้วนั้น มันทำให้แยกกองที่จะใช้ด้วย และการใช้จ่ายย่อมมีหัวข้อต่างๆเช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าเสื้อผ้า ค่าบ้าน ค่าท่องเที่ยว ยิ่งซอยเป็นหัวข้อได้มากเท่าไร เราก็สามารถจัดการค่าใช้จ่ายได้ง่ายขึ้นที่เราสามารถกำหนดจำนวนเงินตั้งไว้เพื่อการใช้จ่ายในเรื่องต่างๆ ว่าแต่ละกองในแต่ละจุดประสงค์นั้นใช้เท่าไรต่อสัปดาห์ ต่อเดือน ต่อไตรมาส และต่อปี บางเรื่องเราใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน บางเรื่องนานๆเราใช้ทีเช่นการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว หรือสินค้าฟุ่มเฟือย การควบคุมโดยการทำบัญชีใช้จ่าย หรือใช้บัญชีธนาคาร หรือแม้แต่ใช้บัตรเครดิต เพื่อควบคุมสิ่งต่างๆ ให้เรารู้และประมาณการได้ ซึ่งถ้าเป็นคนจน จะรวมผสมมั่วไปหมด เพราะเค้าไม่ได้แยก พออยากได้อะไรก็ใช้ก็จ่าย เพราะเค้ารู้แค่ เงินรวมคงเหลือในบัญชีเดียว เลยมักเดือนชนเดือน และถ้าลืมนึกถึงการใช้เงินอนาคตหรือผ่อน ก็จะเกิดอาการเงินติดลบ จนแกะที่พันไม่ออกล้มละลายได้
คนรวยไม่ได้มีแค่เงินเดือนเป็นเงินหลักไว้ใช้จ่าย แต่คนจนมีแต่เงินเดือนที่เอาไว้จ่ายทุกอย่าง
การมีรายได้ทางเดียวก็เป็นความเสี่ยง ย่อมต้องหารายได้จากหลายๆทางเพื่อป้องกันความเสี่ยงของสิ่งที่ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น และระลึกอยู่เสมอว่ามีเหตุการณ์ร้ายๆขึ้นมาจะต้องทำอย่างไรเพื่อแก้ปัญหาให้ผ่านพ้นช่วงนั้นไปได้ การสร้างรายรับหลายๆทาง ย่อมเป็นการที่จะประกันความเสี่ยงหากเกิดอะไรกับทางหนึ่ง รายรับนั้นนอกเหนือจากเงินเดือน ก็ย่อมเป็นงานพิเศษตามความถนัด ตามความสามารถ ดอกเบี้ย เงินปันผล กำไรจากการลงทุน ย่อมเลือกตามความถนัดและความเข้าใจก่อน อย่าไปมองถึงผลตอบแทนที่หวือหวาตาลุกวาว เพราะความไม่มั่นคงย่อมเป็นสิ่งที่คนรวยจะไม่เข้าไปแตะต้อง การเป้าหมายจากอะไรเพื่ออะไรย่อมเป็นสิ่งที่ทำให้เราต้องค้นหา เช่น เราอยากไปเที่ยว แต่เงินก้อนนี้จะไม่เอาเงินเดือนมาใช้ ก็ต้องหามาจากทางอื่น และแน่นอนการใช้เงินที่หามาจากทางอื่นย่อมทำให้ไม่กระทบถึงการใช้ชีวิตหลัก แต่สำหรับคนจนที่บอกว่าตัวเองทำงานหนักแล้วนั้นย่อมคิดว่าไม่เหลือเวลาที่จะทำอะไรมากกว่างานประจำ และก็เอาเงินประจำไปใช้จ่าย โดยมากเรื่องฟุ่มเฟือย ที่คิดว่าเป็นการให้รางวัลชีวิต เหนื่อยมาทั้งเดือนอยากจะมีช่วงเวลาดีๆสักวัน กินแพงๆสักมื้อ แต่มื้อนั้นมันอาจจะเป็นสัดส่วน 1/4ของรายได้ที่หามาได้ ซึ่งถ้ามี จะใช้ก็ไม่ผิด แต่มันผิดหลักของทัศนคิตคนรวย
คนรวยใช้ตรรกะสูง คนจนใช้ความรู้สึกสูง
จริงอยู่สินค้าหรือบริการเต็มตลาดที่เราโดนยัดเยียดตลอดเวลา มีทั้งการตลาดที่หลอกล่อเรา และราคาที่ดึงดูดใจเราเสมอมา แต่คนรวยใช้สติในการซื้อโดยมีคำถามถึงความจำเป็นหรือไม่ และมีประโยชน์อะไร พินิจพิเคราะห์ก่อนจะจ่ายออกไป ทำให้เขารู้คุณค่าและประโยชน์ โดยไม่ได้กังวลว่าถูกหรือแพง เพราะถ้ามันมีประโยชน์มากกว่าสิ่งที่จ่ายออกไปย่อมคุ้มค่าเสมอในแต่ละบุคคล และในขณะที่คนจนจะซื้อด้วยความรู้สึก อะไรที่มีการตลาดบอกว่า มันสวยมันดีมีเรื่องราว ทำให้เขาอยากจับอยากได้เป็นเจ้าของ ซึ่งความรู้สึกนั้นมันแพงกว่ามูลค่าจริงมันเสมอ การมีนั้นมันบ่งบอกสถานะก็จริง แต่การมีเงินจริงๆจะทำให้เราเป็นคนรวย แคความรู้สึกนั้นไม่ทำให้เรารวยขึ้นมา การหลอกตัวเอง ทำให้เราคิดไปเอง และถ้าเราคิดไปเอง มันก็ไม่ใช่เป็นความจริงเสมอไป
นี่ก็เป็นบางเรื่องที่ผมได้เรียนรู้และคิดมา ผมไม่ได้ดูถูกจน และเหยียดคนรวย แต่ถ้าเราเปรียบในสิ่งที่ถูกต้อง คำตอบก็จะเป็นคำตอบที่บริสุทธิ์ ไม่ได้มีอคติเจือปน แต่ถ้าเราเปรียบกับสิ่งที่ไม่ได้เป็นเรื่องเดียวกันมาเปรียบนั้น คำตอบมันไม่มีวันจบเพราะมันไม่ควรเอามาเปรียบกันตั้งแต่แรกแล้ว
RIZ